วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต



 จากปัญหาการล่อลวงอันเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นัวันยิ่งมีมากขึ้น   ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตราการป้องกันปัญหาเเละภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต   ซึ่งเกิดจากคนที่ที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม   ดังนั้น   จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง  และสังคม   เพื่อลีกเลี่ยงเเละรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์   ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน   ภู่วรวรรณ    ได้กล่าวถึง   บัญญัติ   10 ประการ   ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ   ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ   ดังนี้
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย   หรือละเมิดผู้อื่น  เช่น   ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย   ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร   เป็นต้น
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น    เช่น   การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
3. ต้องไม่สอดเเนม   แก้ไข   หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏ   ระเบียบ   กติกา   และมีมารยาทของหน่วยงาน    สถาบันหรือสังคมนั้น ๆ   
ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ISD หมายถึง และ E-learning






    ISD  หมายถึง  การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) 

คือ กระบวนการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
 มีทฤษฎีทางการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษาแนวทาง เพื่อให้ได้ระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ


http://www.it.kau.se/isd2005/                                           



         e-Learning  หมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น



ที่มา : http://www.kroobannok.com/1586


Blog ย่อมาจากคำว่าและหมายถึง

      Blog ย่อมาจากคำว่า  WeBlog  บางคนอ่านว่า  We Blog  บางคนอ่านว่า  Web Log 

       Blog  หมายถึง  การบันทึกบทความของตนเอง (Personal  Korunal)  ลงบนเว็บไซต์  โดยเนื้อหาของ  blog  นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว  การมองโลกของเรา  ความคิดเห็นของเราต่อเรื่องต่าง ๆ  หรือเป็นบทความเฉพาะด้าน  เช่น  เรื่องการเมือง  เรื่องกล้องถ่ายรูป  เรื่องกีฬา  เรื่องธุรกิจ


E - mail ย่อมาจากคำว่าและหมายถึง


      E - mail ย่อมาจากคำว่า   Electronic Mail   ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

       E - mail  หมายถึง   ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง




IP Address ต่างกับ Domain name อย่างไร


    IP Address  คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4  วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด

32 bit  หรือ 4 byte  แต่ล่ะ  byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address
  
   บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card



        Domain name คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป



 

                                                                                                                    
ที่มา : http://domain-name.gict.co.th/

HTML คืออะไร



   HTML ย่อมาจากคำว่า  Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ

     HTML หมายถึง  ภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ  โดยคำสั่งในภาษา  HTML จะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ  ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ทั้งสีสัน  รูปภาพ  ตลอดจนตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่บนเว็บเพจ   คำสั่งที่ใช้ควบคุมการแสดงผลใน HTMLนั้นถูกเรียกว่าแท็ก (Tag) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด แต่ละแท็กก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป  เช่น บางแท็กใช้สำหรับกำหนดแสดงรูปภาพ บางแท็กใช้สำหนับกำหนดสีฟอนต์หรือขนาดให้กับตัวอักษร  การเรียนรู้ภาษา HTML จึงเป็นการเรียนรู้ที่จะใช้งานแท็กในการสร้างเว็บเพจให้ได้ดังใจนึกนั่นเอง

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โพรโทคอล และ โมเด็ม (Modems)

โพรโทคอล (อังกฤษprotocol) หรือชื่อไทยว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้

ชุดโพรโทคอล

ชุดโพรโทคอลต่อไปนี้ คือชุดโพรโทคอลสำคัญ ซึ่งเป็นใช้เป็นต้นแบบ ในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้ คือ:
  1. มาตรฐานเปิด
  2. มาตรฐานปิด




โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ

          ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
   โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
   โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ  มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
   โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
   โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
        เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
            1. พบปะพูดคุย
            2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
            3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
            4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
            5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
            6. ส่ง - รับโทรสาร
            7. ตอบรับโทรศัพท์

การเลือกซื้อโมเด็ม
        สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
            1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
            2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
            3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
            4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
            5. การบีบอัดข้อมูล
            6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
            7. รับ - ส่งโทรสารได้
            8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
        การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
            1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
            2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
            3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
            4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
            5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
               โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot

ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/modem.htm