วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต



 จากปัญหาการล่อลวงอันเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นัวันยิ่งมีมากขึ้น   ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตราการป้องกันปัญหาเเละภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต   ซึ่งเกิดจากคนที่ที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม   ดังนั้น   จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง  และสังคม   เพื่อลีกเลี่ยงเเละรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์   ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน   ภู่วรวรรณ    ได้กล่าวถึง   บัญญัติ   10 ประการ   ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ   ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ   ดังนี้
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย   หรือละเมิดผู้อื่น  เช่น   ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย   ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร   เป็นต้น
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น    เช่น   การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
3. ต้องไม่สอดเเนม   แก้ไข   หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏ   ระเบียบ   กติกา   และมีมารยาทของหน่วยงาน    สถาบันหรือสังคมนั้น ๆ   
ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ISD หมายถึง และ E-learning






    ISD  หมายถึง  การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) 

คือ กระบวนการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
 มีทฤษฎีทางการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษาแนวทาง เพื่อให้ได้ระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ


http://www.it.kau.se/isd2005/                                           



         e-Learning  หมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น



ที่มา : http://www.kroobannok.com/1586


Blog ย่อมาจากคำว่าและหมายถึง

      Blog ย่อมาจากคำว่า  WeBlog  บางคนอ่านว่า  We Blog  บางคนอ่านว่า  Web Log 

       Blog  หมายถึง  การบันทึกบทความของตนเอง (Personal  Korunal)  ลงบนเว็บไซต์  โดยเนื้อหาของ  blog  นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว  การมองโลกของเรา  ความคิดเห็นของเราต่อเรื่องต่าง ๆ  หรือเป็นบทความเฉพาะด้าน  เช่น  เรื่องการเมือง  เรื่องกล้องถ่ายรูป  เรื่องกีฬา  เรื่องธุรกิจ


E - mail ย่อมาจากคำว่าและหมายถึง


      E - mail ย่อมาจากคำว่า   Electronic Mail   ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

       E - mail  หมายถึง   ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง




IP Address ต่างกับ Domain name อย่างไร


    IP Address  คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4  วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด

32 bit  หรือ 4 byte  แต่ล่ะ  byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address
  
   บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card



        Domain name คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป



 

                                                                                                                    
ที่มา : http://domain-name.gict.co.th/

HTML คืออะไร



   HTML ย่อมาจากคำว่า  Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ

     HTML หมายถึง  ภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ  โดยคำสั่งในภาษา  HTML จะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ  ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ทั้งสีสัน  รูปภาพ  ตลอดจนตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่บนเว็บเพจ   คำสั่งที่ใช้ควบคุมการแสดงผลใน HTMLนั้นถูกเรียกว่าแท็ก (Tag) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด แต่ละแท็กก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป  เช่น บางแท็กใช้สำหรับกำหนดแสดงรูปภาพ บางแท็กใช้สำหนับกำหนดสีฟอนต์หรือขนาดให้กับตัวอักษร  การเรียนรู้ภาษา HTML จึงเป็นการเรียนรู้ที่จะใช้งานแท็กในการสร้างเว็บเพจให้ได้ดังใจนึกนั่นเอง

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โพรโทคอล และ โมเด็ม (Modems)

โพรโทคอล (อังกฤษprotocol) หรือชื่อไทยว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้

ชุดโพรโทคอล

ชุดโพรโทคอลต่อไปนี้ คือชุดโพรโทคอลสำคัญ ซึ่งเป็นใช้เป็นต้นแบบ ในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้ คือ:
  1. มาตรฐานเปิด
  2. มาตรฐานปิด




โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ

          ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
   โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
   โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ  มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
   โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
   โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
        เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
            1. พบปะพูดคุย
            2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
            3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
            4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
            5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
            6. ส่ง - รับโทรสาร
            7. ตอบรับโทรศัพท์

การเลือกซื้อโมเด็ม
        สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
            1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
            2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
            3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
            4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
            5. การบีบอัดข้อมูล
            6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
            7. รับ - ส่งโทรสารได้
            8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
        การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
            1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
            2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
            3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
            4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
            5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
               โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot

ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/modem.htm

IP Address คืออะไร?


IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address?
  2. Computer Address


การแบ่งขนาดของเครือข่าย

เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
  1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
  2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
  3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข 
* nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address

หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address

เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
 1 . Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
 2 . Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
 3 . Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

WWW . และ Web browser

 WWW.ย่อมาจาก  Wold Wide Web


  Wold Wide Web ( WWW )   หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   “ เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  “เว็บเพจ”  ( Web Page )
แหล่งเก็บเว็บเพจ 


Web browser หมายถึงอะไร Web browser คือ

เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

  1. Internet Explorer
  2. Mozilla Firefox
  3. Google Chrome
  4. Safari

เว็บไซต์ (Web Site)


เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น

credit:http://school.obec.go.th/kudhuachang/les07.htm

เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

credit:http://www.modify.in.th/Website/website-id72.aspx

เว็บไซด์ คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
ขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท

credit:http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yingkidkid&date=28-02-2008&group=1&gblog=32

 ที่มา : http://panyaras.blogspot.com/2010/05/web-site-web-page-home-page-links-www.html

เว็บเพจ (Webpage) และโฮมเพจ




เว็บเพจ คือ หน้าไฟล์เว็บไซต์หน้าต่างๆ จะมีเนื้อหา ภาพ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่สามารถเปิดอ่านได้หลายๆ หน้า เว็บเพจแต่ละหน้าจะถูกระบุเชื่อมโยงด้วยที่อยู่ของเว็บเพจที่เรียกว่า Url (Uniform Resource Locator) และในเว็บเพจยังมีจุดเชื่อมโยง (Links) หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ที่เป็นข้อความ หรือภาพที่ให้คลิกเม้าส์เพื่อเชื่อมโยงไปยังที่อยู่ของเว็บเพจอื่นๆ โดยการระบุด้วย Url นั่นเอง ตัวอย่าง Url ของเว็บไซต์ เช่นhttp://faodoo.com/index.html ซึ่งถ้าเราเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อนี้ ก็จะปรากฏหน้าแรก หรือหน้า โฮมเพจ นั่นเอง หรือถ้าเข้าเว็บไซต์ด้วย http://faodoo.com/hosting.html ก็จะปรากฏหน้า เว็บเพจ อีกหน้า เป็นต้น


โฮมเพจ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อwww.faodoo.com ท่านก็จะเห็นหน้าแรก หรือ โฮมเพจ ทันที ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ และไฟล์ที่ใช้แสดงหน้าโฮมเพจ โดยปกติจะตั้งชื่อเป็น index.html

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)


อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)

ประวัติความเป็นมา


อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ที่มา : http://www.thaiall.com/article/internet.htm

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555



ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์




เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้ว แต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่  3 วิธีคือ



1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
       
         1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น




เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ใน บริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน 

1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล




1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ใน บริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมี อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย




2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network 
หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี



2.2 Client-Server Network 
 หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
 เป็น ระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่องClient


3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์  
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน

3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ



อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม ทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้น เรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม     เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก   ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ   ความปลอดภัยของข้อมูล   เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ต ได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ใน ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง
3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล



ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้ เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูล หรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็น เครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่ สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจาก อินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลก เปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อ กัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อิน ทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม



เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทรา เน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. สื่อสัญญาณ
                สื่อสัญญาณ  หมาย ถึง  อุปกรณ์ในโรงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางไป ยังปลายทาง  แบ่งออกเป็น  2 ประเภทตามลักษณะของการสื่อสาร  คือ
                2.1 สื่อสัญญาณทางสาย  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  คือ
                1) สายบิตเกลียวคู่  (twisted-pair  line เป็น สายทองแดงลักษณะบิตเกลียวทำด้วยทองแดงใช้ได้นานและราคาไม่แพง  นิยมใช้เป็น สายโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป  ความเร็วสูงสุด  128  เมกะบิตต่อวินาที
                2)  สายโคเอเชียน  (coaxial  cable)  เป็น สายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม  และมีสายชิลต์ที่เป็นโลหะป้องกันสัญญาณรบกวนและมี ฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้น  นิยมส่งสัญญาณโทรทัศน์  ความเร็วสูงสุด  200  เมกะ บิตต่อวินาที
                3)  สายใยแก้วนำแสง  (Fiber-optic)  เป็น สายใยแก้วหรือพลาสติกบาง ๆ ขนาดเท่าเส้นผมหลายคู่รวมกัน  สัญญาณจึงไม่ถูกรบกวน  จึงรับส่งข้อมูลได้ แม่นยำ  ส่งข้อมูลได้มากถึง  2  กิกะบิตต่อวินาที
                2.2  สื่อสัญญาณไร้สาย    แบ่งเป็น  5  ประเภท  คือ
                1)  อินฟาเรด  (infrared)  ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  รับส่งข้อมูลได้  1-4  เมกะบิตต่อวินาที  ในระยะทางสั้นๆ  2-3 เมตร
                2) คลื่นวิทยุ  (radio  wave)  เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ  สามารถเดินทางไปในอากาศได้ไกลๆ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เช่น  คลื่นวิทยุเอเอ็ม  เอฟเอ็ม  และอื่นๆ
                3) คลื่นไมโครเวฟ (radio  microwave)  เป็น คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงเรียกว่า  ย่านไมโครเวฟ  เดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่ สามารถผ่าสิ่งกีดขวางได้  การรับส่งสัญญาณต้องใช้จานรับสัญญาณ ไมโครเวฟ  รัศมีการรับส่งประมาณ  50  กม. หากต้องการส่งไกลๆ จะต้องใช้สถานีทวนสัญญาณส่งเป็นทอดๆ
                4) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม  (Satellize) ใช้ ย่านความถี่เดียวกับไมโครเวฟ  โดยส่งสัญญาณจากสถานีส่งขึ้นไปยังดาวเทียมบน ท้องฟ้า  ณ  ตำแหน่งที่ต้องการ  ดาวเทียมจะส่งสัญญาณกลับมายังพื้นโลกใน รัศมีทำการของดาวเทียมดวงนั้น ๆ
              5) ระบบการสื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ ใช้อุปกรณ์กำลังส่งต่ำย่านความถี่  2.4 กิกะเฮิร์ตซ์  มี 3 แบบ  คือ
                (1) บลูทูธ  (bluetooth)  ใช้กับคอมพิวเตอร์ไร้สาย  สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาคเสียงและข้อความ  ระยะใกล้  10  เมตร  ใช้คลื่นวิทยุ
                (2) ไวไฟ  (wireless  fidelity-WIFI) เป็น มาตรฐานดิจิตอลแบบไร้สาย  ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ต ด้วยความเร็วสูง  รัศมีประมาณ  100  เมตร  ความเร็วสูงกว่าบลูทู ธประมาณ  10  เท่า
                (3) โฮมอาร์เอฟ  (Home  Radio  Frequency-Home  RF)  เป็น เครือข่ายไร้สายมาตรฐานเปิด  ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวน ประมาณ  10  เครื่อง  และอุปกรณ์ในระยะไม่เกิน  50  เมตร  นิยมใช้ตาม บ้าน  หรือสำนักงานขนาดเล็ก

  2. เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนาก้าวไปอย่างมากและ เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น  การดูโทรทัศน์  การใช้อินเตอร์ เน็ต  เทคโนโลยีด้านนี้มีบทบาทและความสำคัญมาก  คือ

                1. ระบบสื่อสารบอกตำแหน่งบนพื้นโลก  หรือที่เรียกว่า  จีพีเอส  ใช้ ดาวเทียมในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก  คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในกิจการทหาร เช่น  การบอกตำแหน่งกองเรือรบในมหาสมุทร  การบอกที่หลบซ่อนของข้าศึก

                2. โทรศัพท์ติดตามตัว  (Pager)  เป็นโทรศัพท์แบบติดต่อทางเดียว  ใช้ส่งข้อความสั้น ๆ ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว
                3. โทรศัพท์เคลื่อนที่  (Mobile  Phone)  หรือ ที่เรียกกันว่า  โทรศัพท์มือถือ  เป็นการรับส่งข้อมูลไร้สาย  จากเรื่องต้น ทางผ่านผู้ให้บริการไปยังผู้รับปลายทาง  ซึ่งแบ่งเป็นระบบอนาล็อก  และ ดิจิตอล  เช่น  GSM  และ  CDMA
                4. โทรศัพท์ไอพี  (IP  Telephone)  เป็น โทรศัพท์ที่ใช้ในการรับส่งเสียงซึ่งทำให้การบริการโทรศัพท์ทางไกลมีราถูก ลง  โดยผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโฟน  ลำโพง  และเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตและใช้ซอฟท์แวร์ที่สามารถติดต่อโทรศัพท์ได้ 
                5. โทรสารผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet  Faxing) ทำ หน้าที่เหมือนการใช้โทรศัพท์ไอพี  เพียงแต่เปลี่ยนระบบเสียงเป็นระบบข้อ ความ  วิธีการทำงานก็คือ  ผู้ส่งและผู้รับต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและ ผู้ให้บริการหรือไอเอสพีรายนั้นจะต้องมีบริการโทรสารอินเตอร์เน็ตด้วย  จาก นั้นสามารถส่งโทรสารผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังชุมสายโทรศัพท์ที่เครื่องโทรสาร ปลายทางต่อเชื่อมอยู่  ทำให้อัตราราคาค่าใช้โทรสารถูกลงร้อย ละ  25-50  เมื่อเปรียบเทียบกับโทรสารปกติ
                6. โทรทัศน์อินเตอร์เน็ต (Web  TV  Network)  เป็น ความก้าวหน้าที่ต้องการเชื่อมต่อโทรทัศน์เข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต  ผู้ดู โทรทัศน์สามารถรับส่งอีเมล์ได้ด้วยเครื่องรับโทรทัศน์  ซึ่งโทรทัศน์จะต้อง มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า  เซ็ท-ท็อปส์  ตั้งบนเรื่องรับโทรทัศน์ และสมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการด้านเว็บทวีเน็ตเวิร์ค  ใช้สายโทรศัพท์และ โมเด็มในการเชื่อมต่อ  ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเตอร์เน็ตและชมโทรทัศน์ พร้อมกันได้
                7. การทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์(Workgroup  Computing and Groupware) หมาย ถึง  การทำให้เรื่องคอมพิวเตอร์สามารถต่อเชื่อมกันได้เป็นเรือข่าย  ใช้แฟ้ม ข้อมูลฐานข้อมูลแบะอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้  เช่นเครื่องพิมพ์  เครื่องสแกนเนอร์
                8. เทคโนโลยีการทำงานทางไกลและสำนักงานเสมือน  เป็นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ได้   มีความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะการทำงานที่บ้าน (home  office) โดยเฉพาะงานทางด้านการบริการ เช่น  สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ  เพราะสะดวก  ประหยัดเวลาในการเดินทาง  แต่ไม่เหมาะกับงาน ด้านการผลิตแบบอุตสาหกรรมเพราะสถานที่คับแคบและกฎหมายไม่อนุญาต โดยปัจจุบัน สำนักงานเสมือนมักอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ 
                9. เครือข่ายบ้าน (home network) หมาย ถึง  การเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตกับเครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น การเปิดประตูบ้านแบบรีโมต  การปิดเปิดไฟฟ้า  เครื่องปรับอากาศ
                10. การประชุมทางไกล (teleconferencing)  หมาย ถึง  การใช้ภาพทางโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์โดยใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพ  และ ไมโครโฟนเพื่อส่งสัญญาณเสียง  ใช้ลำโพงเพื่อรับฟังเสียงในการประชุม  ผู้ ร่วมประชุมอยู่คนละสถานที่กัน  แต่สามารถพูด  ฟัง  หรือสื่อสารกันได้เหมือน อยู่ในห้องประชุมเดียวกัน

3. การสื่อสารข้อมูล

                การ สื่อสารข้อมูลจะต้องใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้  เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสายและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
                1.1 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสาย

การสื่อสารข้อมูลทางสายเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านสายต่างๆ เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  6  ประการ  คือ
                1) เทคโนโลยีโมเด็ม  คำว่า  โมเด็ม  (Modem)  หมาย ถึง  การแปลง  และการแปลงกลับ  โมเด็มจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณ ดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก  และแปลงสัญญาณอะนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                2) เทคโนโลยีไอเอสดีเอ็น  เป็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็ม  ใช้ระบบดิจิตอลตลอดเส้นทางการสื่อสาร  บริการด้วยความเร็วสามระดับ  คือ
                1. ความเร็ว 64-128  กิโลบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
                2. ความเร็ว  2  เมกะบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเร็วสูง
                3. บริการบรอดแบรนด์ความเร็วตั้งแต่  2  เมกะบิตขึ้นไป  ใช้กับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
                3) เทคโนโลยีดีเอสแอล  เป็นเทคโนโลยีท่อยู่ในกลุ่ม  xDSL  เช่น  ADSL,  HDSL  ลักษณะ เด่นนี้คือ  สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  ความเร็วสูง  เวลาใช้ อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะชุมสายดีเอสแอลจะมี สลิตเตอร์ (slitter)  ทำหน้าที่แยกสัญญาณ ระหว่างสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ดีเอสแอล
                4)  เทคโนโลยีความเร็วสูงเอสดีเอช  ใช้ ใยแก้วนำแสงเป็นระบบสื่อสัญญาณ  ความเร็วขั้นต่ำ  155  เมกะบิตต่อ วินาที  ความเร็วสูงสุดมากถึง  2.  กิกะไบต์ต่อวินาที  มีข้อจำกัดที่ต้นทุน สูงมาก  การดูแลรักษายาก  ประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้เฉพาะเส้นทางหลักของโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
                5) เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม  (cable  modem)  หมาย ถึง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้ บริการเคเบิลทีวี  โดยใช้ใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลต่อเชื่อมมายังผู้ใช้  และ ใช้เคเบิลโมเด็มต่อมายังคอมพิวเตอร์
                6) คู่สายเช่า-วงจรเช่า (leased  line)  หมายถึง  สายโทรศัพท์หรือวงจรที่ให้เช่าเพื่อใช้งานด้านการรับส่งข้อมูล  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่หลายๆ แห่ง
                1.2 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมมาก  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
                1) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง  (voice)  และข้อความ (content)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันที่นิยมคือระบบ  GSM  ย่อมาจาก  Global  System  for  Mobile  ให้ความเร็วไม่เกิน  9600  บิตต่อวินาที ระบบจีพีอาร์เอส  (General  Packet  Radio  Service-GPRS)  และระบบเอ็ดจ  (Enhanced  rates  for  GSM  Evolution-EDGE) ให้ความเร็ว 32  กิโลบิตต่อวินาที
                2) เทคโนโลยีดาวเทียมระบบดีบีเอส  ย่อมาจากคำว่า  Direct  Broadcast  Satellite  (DBS) เป็น ระบบที่แพร่สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยความถี่สูงย่านไมโครเวฟไปยัง สมาชิกโดยตรง  โดยใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  60  ซม.เป็นตัวรับสัญญาณ
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร