วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555



ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์




เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้ว แต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่  3 วิธีคือ



1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
       
         1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น




เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ใน บริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน 

1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล




1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ใน บริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมี อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย




2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network 
หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี



2.2 Client-Server Network 
 หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
 เป็น ระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่องClient


3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์  
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน

3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ



อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม ทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้น เรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม     เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก   ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ   ความปลอดภัยของข้อมูล   เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ต ได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ใน ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง
3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล



ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้ เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูล หรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็น เครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่ สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจาก อินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลก เปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อ กัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อิน ทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม



เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทรา เน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. สื่อสัญญาณ
                สื่อสัญญาณ  หมาย ถึง  อุปกรณ์ในโรงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางไป ยังปลายทาง  แบ่งออกเป็น  2 ประเภทตามลักษณะของการสื่อสาร  คือ
                2.1 สื่อสัญญาณทางสาย  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  คือ
                1) สายบิตเกลียวคู่  (twisted-pair  line เป็น สายทองแดงลักษณะบิตเกลียวทำด้วยทองแดงใช้ได้นานและราคาไม่แพง  นิยมใช้เป็น สายโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป  ความเร็วสูงสุด  128  เมกะบิตต่อวินาที
                2)  สายโคเอเชียน  (coaxial  cable)  เป็น สายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม  และมีสายชิลต์ที่เป็นโลหะป้องกันสัญญาณรบกวนและมี ฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้น  นิยมส่งสัญญาณโทรทัศน์  ความเร็วสูงสุด  200  เมกะ บิตต่อวินาที
                3)  สายใยแก้วนำแสง  (Fiber-optic)  เป็น สายใยแก้วหรือพลาสติกบาง ๆ ขนาดเท่าเส้นผมหลายคู่รวมกัน  สัญญาณจึงไม่ถูกรบกวน  จึงรับส่งข้อมูลได้ แม่นยำ  ส่งข้อมูลได้มากถึง  2  กิกะบิตต่อวินาที
                2.2  สื่อสัญญาณไร้สาย    แบ่งเป็น  5  ประเภท  คือ
                1)  อินฟาเรด  (infrared)  ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  รับส่งข้อมูลได้  1-4  เมกะบิตต่อวินาที  ในระยะทางสั้นๆ  2-3 เมตร
                2) คลื่นวิทยุ  (radio  wave)  เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ  สามารถเดินทางไปในอากาศได้ไกลๆ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เช่น  คลื่นวิทยุเอเอ็ม  เอฟเอ็ม  และอื่นๆ
                3) คลื่นไมโครเวฟ (radio  microwave)  เป็น คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงเรียกว่า  ย่านไมโครเวฟ  เดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่ สามารถผ่าสิ่งกีดขวางได้  การรับส่งสัญญาณต้องใช้จานรับสัญญาณ ไมโครเวฟ  รัศมีการรับส่งประมาณ  50  กม. หากต้องการส่งไกลๆ จะต้องใช้สถานีทวนสัญญาณส่งเป็นทอดๆ
                4) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม  (Satellize) ใช้ ย่านความถี่เดียวกับไมโครเวฟ  โดยส่งสัญญาณจากสถานีส่งขึ้นไปยังดาวเทียมบน ท้องฟ้า  ณ  ตำแหน่งที่ต้องการ  ดาวเทียมจะส่งสัญญาณกลับมายังพื้นโลกใน รัศมีทำการของดาวเทียมดวงนั้น ๆ
              5) ระบบการสื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ ใช้อุปกรณ์กำลังส่งต่ำย่านความถี่  2.4 กิกะเฮิร์ตซ์  มี 3 แบบ  คือ
                (1) บลูทูธ  (bluetooth)  ใช้กับคอมพิวเตอร์ไร้สาย  สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาคเสียงและข้อความ  ระยะใกล้  10  เมตร  ใช้คลื่นวิทยุ
                (2) ไวไฟ  (wireless  fidelity-WIFI) เป็น มาตรฐานดิจิตอลแบบไร้สาย  ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ต ด้วยความเร็วสูง  รัศมีประมาณ  100  เมตร  ความเร็วสูงกว่าบลูทู ธประมาณ  10  เท่า
                (3) โฮมอาร์เอฟ  (Home  Radio  Frequency-Home  RF)  เป็น เครือข่ายไร้สายมาตรฐานเปิด  ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวน ประมาณ  10  เครื่อง  และอุปกรณ์ในระยะไม่เกิน  50  เมตร  นิยมใช้ตาม บ้าน  หรือสำนักงานขนาดเล็ก

  2. เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนาก้าวไปอย่างมากและ เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น  การดูโทรทัศน์  การใช้อินเตอร์ เน็ต  เทคโนโลยีด้านนี้มีบทบาทและความสำคัญมาก  คือ

                1. ระบบสื่อสารบอกตำแหน่งบนพื้นโลก  หรือที่เรียกว่า  จีพีเอส  ใช้ ดาวเทียมในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก  คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในกิจการทหาร เช่น  การบอกตำแหน่งกองเรือรบในมหาสมุทร  การบอกที่หลบซ่อนของข้าศึก

                2. โทรศัพท์ติดตามตัว  (Pager)  เป็นโทรศัพท์แบบติดต่อทางเดียว  ใช้ส่งข้อความสั้น ๆ ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว
                3. โทรศัพท์เคลื่อนที่  (Mobile  Phone)  หรือ ที่เรียกกันว่า  โทรศัพท์มือถือ  เป็นการรับส่งข้อมูลไร้สาย  จากเรื่องต้น ทางผ่านผู้ให้บริการไปยังผู้รับปลายทาง  ซึ่งแบ่งเป็นระบบอนาล็อก  และ ดิจิตอล  เช่น  GSM  และ  CDMA
                4. โทรศัพท์ไอพี  (IP  Telephone)  เป็น โทรศัพท์ที่ใช้ในการรับส่งเสียงซึ่งทำให้การบริการโทรศัพท์ทางไกลมีราถูก ลง  โดยผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโฟน  ลำโพง  และเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตและใช้ซอฟท์แวร์ที่สามารถติดต่อโทรศัพท์ได้ 
                5. โทรสารผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet  Faxing) ทำ หน้าที่เหมือนการใช้โทรศัพท์ไอพี  เพียงแต่เปลี่ยนระบบเสียงเป็นระบบข้อ ความ  วิธีการทำงานก็คือ  ผู้ส่งและผู้รับต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและ ผู้ให้บริการหรือไอเอสพีรายนั้นจะต้องมีบริการโทรสารอินเตอร์เน็ตด้วย  จาก นั้นสามารถส่งโทรสารผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังชุมสายโทรศัพท์ที่เครื่องโทรสาร ปลายทางต่อเชื่อมอยู่  ทำให้อัตราราคาค่าใช้โทรสารถูกลงร้อย ละ  25-50  เมื่อเปรียบเทียบกับโทรสารปกติ
                6. โทรทัศน์อินเตอร์เน็ต (Web  TV  Network)  เป็น ความก้าวหน้าที่ต้องการเชื่อมต่อโทรทัศน์เข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต  ผู้ดู โทรทัศน์สามารถรับส่งอีเมล์ได้ด้วยเครื่องรับโทรทัศน์  ซึ่งโทรทัศน์จะต้อง มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า  เซ็ท-ท็อปส์  ตั้งบนเรื่องรับโทรทัศน์ และสมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการด้านเว็บทวีเน็ตเวิร์ค  ใช้สายโทรศัพท์และ โมเด็มในการเชื่อมต่อ  ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเตอร์เน็ตและชมโทรทัศน์ พร้อมกันได้
                7. การทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์(Workgroup  Computing and Groupware) หมาย ถึง  การทำให้เรื่องคอมพิวเตอร์สามารถต่อเชื่อมกันได้เป็นเรือข่าย  ใช้แฟ้ม ข้อมูลฐานข้อมูลแบะอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้  เช่นเครื่องพิมพ์  เครื่องสแกนเนอร์
                8. เทคโนโลยีการทำงานทางไกลและสำนักงานเสมือน  เป็นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ได้   มีความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะการทำงานที่บ้าน (home  office) โดยเฉพาะงานทางด้านการบริการ เช่น  สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ  เพราะสะดวก  ประหยัดเวลาในการเดินทาง  แต่ไม่เหมาะกับงาน ด้านการผลิตแบบอุตสาหกรรมเพราะสถานที่คับแคบและกฎหมายไม่อนุญาต โดยปัจจุบัน สำนักงานเสมือนมักอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ 
                9. เครือข่ายบ้าน (home network) หมาย ถึง  การเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตกับเครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น การเปิดประตูบ้านแบบรีโมต  การปิดเปิดไฟฟ้า  เครื่องปรับอากาศ
                10. การประชุมทางไกล (teleconferencing)  หมาย ถึง  การใช้ภาพทางโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์โดยใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพ  และ ไมโครโฟนเพื่อส่งสัญญาณเสียง  ใช้ลำโพงเพื่อรับฟังเสียงในการประชุม  ผู้ ร่วมประชุมอยู่คนละสถานที่กัน  แต่สามารถพูด  ฟัง  หรือสื่อสารกันได้เหมือน อยู่ในห้องประชุมเดียวกัน

3. การสื่อสารข้อมูล

                การ สื่อสารข้อมูลจะต้องใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้  เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสายและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
                1.1 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสาย

การสื่อสารข้อมูลทางสายเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านสายต่างๆ เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  6  ประการ  คือ
                1) เทคโนโลยีโมเด็ม  คำว่า  โมเด็ม  (Modem)  หมาย ถึง  การแปลง  และการแปลงกลับ  โมเด็มจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณ ดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก  และแปลงสัญญาณอะนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                2) เทคโนโลยีไอเอสดีเอ็น  เป็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็ม  ใช้ระบบดิจิตอลตลอดเส้นทางการสื่อสาร  บริการด้วยความเร็วสามระดับ  คือ
                1. ความเร็ว 64-128  กิโลบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
                2. ความเร็ว  2  เมกะบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเร็วสูง
                3. บริการบรอดแบรนด์ความเร็วตั้งแต่  2  เมกะบิตขึ้นไป  ใช้กับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
                3) เทคโนโลยีดีเอสแอล  เป็นเทคโนโลยีท่อยู่ในกลุ่ม  xDSL  เช่น  ADSL,  HDSL  ลักษณะ เด่นนี้คือ  สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  ความเร็วสูง  เวลาใช้ อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะชุมสายดีเอสแอลจะมี สลิตเตอร์ (slitter)  ทำหน้าที่แยกสัญญาณ ระหว่างสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ดีเอสแอล
                4)  เทคโนโลยีความเร็วสูงเอสดีเอช  ใช้ ใยแก้วนำแสงเป็นระบบสื่อสัญญาณ  ความเร็วขั้นต่ำ  155  เมกะบิตต่อ วินาที  ความเร็วสูงสุดมากถึง  2.  กิกะไบต์ต่อวินาที  มีข้อจำกัดที่ต้นทุน สูงมาก  การดูแลรักษายาก  ประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้เฉพาะเส้นทางหลักของโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
                5) เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม  (cable  modem)  หมาย ถึง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้ บริการเคเบิลทีวี  โดยใช้ใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลต่อเชื่อมมายังผู้ใช้  และ ใช้เคเบิลโมเด็มต่อมายังคอมพิวเตอร์
                6) คู่สายเช่า-วงจรเช่า (leased  line)  หมายถึง  สายโทรศัพท์หรือวงจรที่ให้เช่าเพื่อใช้งานด้านการรับส่งข้อมูล  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่หลายๆ แห่ง
                1.2 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมมาก  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
                1) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง  (voice)  และข้อความ (content)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันที่นิยมคือระบบ  GSM  ย่อมาจาก  Global  System  for  Mobile  ให้ความเร็วไม่เกิน  9600  บิตต่อวินาที ระบบจีพีอาร์เอส  (General  Packet  Radio  Service-GPRS)  และระบบเอ็ดจ  (Enhanced  rates  for  GSM  Evolution-EDGE) ให้ความเร็ว 32  กิโลบิตต่อวินาที
                2) เทคโนโลยีดาวเทียมระบบดีบีเอส  ย่อมาจากคำว่า  Direct  Broadcast  Satellite  (DBS) เป็น ระบบที่แพร่สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยความถี่สูงย่านไมโครเวฟไปยัง สมาชิกโดยตรง  โดยใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  60  ซม.เป็นตัวรับสัญญาณ
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล


ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการ ด้วยกันคือ
1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา
120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก


2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับ มีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้


3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้ คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้น หาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจอง ที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที


4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555


อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ความหมายของโพรโทคอล
โพรโทคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบที่ใช้กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้รหัสแทนข้อมูลแตกต่างกัน และ/หรือมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางหรือวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์หมดไป ซึ่งจะทำให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน


1. โพรโทคอลมีกี่ชนิดและแต่ละชนิดมีหน้าที่อะไร

1. NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)
เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบ เครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วทั้งเครือข่ายไม่สามารถหาเส้นทาง (route) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

2. IPX/SPX (Internet Packet Exchange)
เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กับระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ แต่ก็ไม่ดีเท่ากับ TCP/IP ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กถึงระดับกลางเท่านั้น ปัจจุบันNetwareได้พัฒนาความสามารถจนสามารถรองรับเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีโปรโตคอลให้เลือกใช้หลากหลายขึ้น

3. TCP/IP (Transfer Control Protocol/ Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครือข่ายขนาดใหญ่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูล จึงถูกใช้เป็นโปรโตคอลหลักใ น เ ค รือ ข่า ย อิน เ ท อ ร์เ น็ต ข้อ เ สีย ข อ งโปรโตคอลนี้ คือ ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP การกำหนด IP Addressอีกทั้งจะต้องมีการปรับแต่งค่าต่าง ๆ หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่าย



4.โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน

5. โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์
โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols) ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน

6.โพรโทคอลจัดการระดับบิต
โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols) เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย



7.โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA) เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย

8.โพรโทคอล H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้



9.โพรโทคอล X.25
คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ


อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย





1.โมเด็ม (Modem)    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem



2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN

     เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน



3. เกตเวย์ (Gateway)     เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


4. เราเตอร์ (Router)     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

5. บริดจ์ (Bridge)     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย


6. รีพีตเตอร์ (Repeater)     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณ     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ


         -     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย


         -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ


8.  ฮับ (HUB)      เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 บรอดแบนด์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคต่างๆ

 

บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง  รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ  ซึ่งปัจจุบันระบบรอดแบนด์ในไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช่งานตามบ้านแล้ว  ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูง                (Asymmetric Digital  Subscripber Line : ADSL )  ซึ่งทำให้การใช่บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกะบิตต่อวินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึงระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ



ยุค 1G : เป็นยุคที่ใช่สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง  โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นสามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก - รับสายเท่านั้นถือเป็นยุคแรกของการพัฒณาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาห์ โดยใช้วิธีการปับสัญณาณแอนะล็อคเข้าช่องสื่อสารซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการตดคัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย

ยุค 2G  :  เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งผ่านทางคลื่นวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช่สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่อนไมโครเวฟ  ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆและเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำนเส้นทางการเชื่อมต่อสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซต์   (cell site) และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global Syatem for Mobile Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกียบทั้วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือค่าย (roaming)



 



ยุค 3G ใช้บริการมัตติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่องสัญญาณเห็นหน้า (video telephony) และการประชุมทางไกลผ่านทางวีดีโอ (video conf erence) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวีดิโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารคใช้บริการข้ามเครือข่าย  (roaming) ได้เช่นเดียวกับ GSM



ตัวอย่างโทรศัพท์เคลี่องที่ ยุค 3G
ยุคที่ 4G  เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที สามารถเชื่อต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three - dimensional : 3D) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัตติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย    เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น

ตัวอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยุค 4G
ที่มา: หนังสือเรียนพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร